วันพุธที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2558

อาชีพทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

   นักวิเคราะห์ระบบ (System analyst) 
     ทำหน้าที่ในการศึกษาวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์และพัฒนาระบบสารสนเทศ นักวิเคราะห์ระบบจะทำการวิเคราะห์ระบบงานและออกแบบระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน ซึ่งอาจรวมถึงงานด้านการออกแบบฐานข้อมูลด้วย





 ผู้ดูแลและบริหารระบบ (System administrator) 
        ทำหน้าที่บริหารและจัดการระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร โดยดูแลการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบปฏิบัติการ การติดตั้งฮาร์ดแวร์ การติดตั้งและการปรับปรุงซอฟต์แวร์ สร้าง ออกแบบและบำรุงรักษาบัญชีผู้ใช้ สำหรับองค์กรขนาดเล็กเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบอาจต้องดูแลและบริหารระบบเครือข่ายด้วย










วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลกระทบของไอทีด้านลบ-ด้านบวก

เฟสบุ๊คเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ แจ้งเราทันที เมื่อถูกรัฐบาลแฮกเฟส!
facebook

      เนื่องจาก Facebook เป็นเหมือนกับตัวตนที่สอง หรือตัวตนที่สำคัญของใครหลายคนในโลกออนไลน์ ดังนั้นผู้ไม่หวังดีก็มักจะพยายามแฮก หรือเจาะข้อมูลบัญชีแอคเคาท์ Facebook ของเป้าหมายอยู่เสมอ และเพื่อรักษาความปลอดภัย และข้อมูลความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ Facebook จึงประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ซึ่งเป็นการส่งแบนเนอร์การแจ้งเตือนทันทีให้กับเจ้าของบัญชีตัวจริงว่า ตอนนี้เฟสของคุณกำลังถูกแฮกอยู่จากรัฐบาล หรือผู้ไม่หวังดีอื่นๆ
แบนเนอร์ที่ว่านี้จะเป็นภาพตามด้านล่างนี้
12107890_10153611010246886_3935073197580215636_n
ซึ่งเมื่อระบบแจ้งเตือนเราเกี่ยวกับการเจาะระบบแล้ว ระบบจะแนะนำให้เราเปิดการยืนยันตัวตนเพื่อลงชื่อเข้าใช้ ที่เหมือนกับเป็นการยืนยันตัวตนเจ้าของบัญชีอีกชั้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัย


ผลต่อตัวเรา คือ ก่อให้เกิดความสะดวกทำให้ทราบว่าใครกำลังเข้าถึงข้อมูลเราอยู่ เราให้เรารู้จักระมัดระวังในการใช้แอพพลิเคชั่นต่างๆบนโลกโซเชียว ระมัดระวังการเผยเเพร่ของมูลที่เมื่อถูกเข้าถึงจะเกิดผลเสียตามมาต่อตัวเอง
วิธีป้องกัน คือ ควรเปลี่ยนรหัสผ่าน หรือพาสเวิร์ดเป็นประจำ โดยที่ไม่ควรตั้ง รหัสที่เข้าถึงง่าย 


วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่มีข้อสอบ O-NET

 ข้อสอบ O-NET พร้อมเฉลย ป.6 ม.3 ม.6 ปี 52-53-54
testo-net.oporjang.com



 O-NET Get 100 พร้อมลุย
trueplookpanya.com

ตัวอย่างข้อสอบ จำนวน 5 ข้อ

วิชา ภาษาอังกฤษ






เฉลย
1) 3 3
2) 1 4
3) 4 3
4) 1 3
5) 3 1 

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตัวอย่างโครงงานคอมพิวเตอร์ จากเว็บ Vcharkarn.com

 ชื่อเว็บ : http://www.vcharkarn.com/project/512

 ชื่อโครงงาน : บทเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานผ่านทางมือถือ

  เนื้อหาสาระสำคัญ :

      ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเปรียบเสมือนปัจจัยที่ 5 ของผู้คนทั่วไป ดังนั้นการที่เราจะนำความบันเทิงที่สามารถแสดงผลได้บนโทรศัพท์มือถือ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ใช้ที่ต้องการการเรียนรู้ที่ง่ายขึ้น และนอกจากนี้การเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ไม่ได้จำกัดแค่เครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเท่านั้น เพราะสามารถใช้เทคโนโลยีของ GPRS มาใช้กับโทรศัพท์มือถือได้ จึงทำให้การเรียนรู้บทเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานผ่านทางโทรศัพท์มือถือนั้น เป็นการเรียนรู้ ที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน

 โปรแกรมที่ใช้สร้าง :
•  Java

•  Input/Output Specification 

•  Functional Specification 

•  โครงสรางของซอฟตแวร ์(Design) 



Photobucket - Video and Image Hosting

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์

การทำโครงงานในที่นี้จะแบ่งการทำงานออกเป็น 6 ขั้นตอนดังนี้

  1.  การคัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจทำ โดยทั่วไปเรื่องที่จะนำมาพัฒนาเป็นโครงงานคอมพิวเตอร์ มักจะได้มาจากปัญหา คำถาม หรือความสนใจในเรื่องต่าง ๆ จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ รอบตัว นักเรียนสามารถจะศึกษาการได้มาของเรื่องที่จะทำโครงงานในการตัดสินใจเลือกหัวข้อที่จะนำมาพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์ ควรพิจารณาองค์ประกอบสำคัญดังนี้
สามารถจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องได้

มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา

มีเวลาเพียงพอ

มีงบประมาณเพียงพอ

มีความปลอดภัย

จะต้องมีความรู้และทักษะพื้นฐานอย่างเพียงพอในหัวข้อเรื่องที่จะศึกษา


  2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล รวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยจะช่วยให้นักเรียนได้แนวคิดที่ใช้ในการกำหนดของเขตของเรื่องที่จะศึกษาได้เฉพาะเจาะจงมากยิ่งขึ้น รวมทั้งความรู้เพิ่มเติมในเรื่งที่จะศึกษาจนสามารถใช้ออกแบบและวางแผนดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้าดังกล่าว นักเรียนจะต้องบันทึกสรุปสาระสำคัญไว้ด้วย
  3. การจัดทำเค้าโครงของโครงงานที่จะทำ จำเป็นต้องกำหนดกรอบแนวคิดและวงแผนการพัฒนาล่วงหน้าเพื่อคาดการณ์ความเป็นไปได้ของโครงงาน ขั้นตอนที่สำคัญคือ ศึกษาค้นคว้าเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบการพัฒนา เสนอเค้าโครงของโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุงแก้ไข

  4. การลงมือทำโครงงาน เมื่อเค้าโครงได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการพัฒนาตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ดังนี้ เตรียมการ ลงมือพัฒนา ตรวจสอบผลงานและแกไข อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ แนวทางในการพัฒนาโครงงานในอนาคต

  5. การเขียนรายงาน เป็นสื่อความหมายเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจแนวความคิด วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า ข้อมูลที่ได้ ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ เกี่ยวกับโครงงานนั้น ในการเขียนควรใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจได้ง่าย ชัดเจน กระชับ และตรงไปตรงมาให้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ
  6. การนำเสนอและการแสดงผลงานของโครงงาน เป็นการนำเสนอเพื่อแสดงออกถึงผลิตผลของความคิด ความพยายามในการทำงานที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเท และเป็นวิธีที่ให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจในโครงงานนั้น ในการเสนออาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ติดโปสเตอร์ การรายงานตัวในที่ประชุม การแสดงผลงานด้วยสื่อต่าง การจัดนิทรรศการ การอธิบายด้วยคำพูด

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประเภทของสื่อการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้สามารถจำแนกออกตามลักษณะได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. สื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึง หนังสือและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่แสดงหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ โดยใช้ตัวหนังสือที่เป็นตัวเขียน หรือตัวพิมพ์เป็นสื่อในการแสดงความหมาย สื่อสิ่งพิมพ์มีหลายชนิด ได้แก่ เอกสาร หนังสือเรียน หนังสือพิมพ์  บันทึก รายงาน 


 2. สื่อเทคโนโลยี หมายถึง สื่อการเรียนรู้ที่ผลิตขึ้นใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ หรือเครื่องมือที่เป็น เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น แถบบันทึกภาพพร้อมเสียง (วิดีทัศน์) แถบบันทึกเสียง ภาพนิ่ง  นอกจากนี้สื่อเทคโนโลยี ยังหมายรวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนรู้ เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น



3. สื่ออื่น ๆ นอกเหนือจากสื่อ 2 ประเภทที่กล่าวไปแล้ว ยังมีสื่ออื่น ๆ ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อเทคโนโลยี สื่อที่กล่าวนี้ ได้แก่ 
     
     3.1 บุคคล หมายถึง บุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ซึ่งสามารถถ่ายทอด สาระความรู้ แนวคิดและ ประสบการณ์
     3.2 ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งมีอยู่ตามธรรมชาติและสภาพแวดล้อมตัวผู้เรียน
     3.3 กิจกรรม / กระบวนการ หมายถึง กิจกรรมหรือกระบวนการที่ผู้สอนและผู้เรียนกำหนดขึ้นเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ ใช้ในการฝึกทักษะซึ่งต้องใช้กระบวนการคิด 
     3.4 วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุที่ประดิษฐ์ขึ้นใช้เพื่อประกอบการเรียนรู้


ที่มา : http://www.st.ac.th/av/media_kind.htm

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)

โครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา 
      เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา โดยสร้างโปรแกรมบทเรียนหรือหน่วยการเรียน ซึ่งอาจจะต้องมีภาคแบบฝึกหัด บททบทวนและถามตอบ ผู้เรียนสามารถเรียนเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มได้ การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยนี้ถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์การสอนไม่ใช่ครูผู้สอน ซึ่งอาจเป็นการพัฒนาบทเรียนแบบออนไลน์ ให้นักเรียนสามารถเข้ามาศึกษาได้ด้วยตนเอง 



    ตัวอย่างโครงงานการพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
 1. โปรแกรมดนตรีไทยแสนสนุก
ผู้พัฒนา                  นางสาวอัญชลี เตมีประเสริฐกิจ
อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ชนารัตน์ คำอ่อน
สถานที่ศึกษา         โรงเรียนระยองวิทยาคม



2. โปรแกรมสนุกไปกับตารางธาตุ
ผู้พัฒนา                 ด.ญ.วริศรา พรหมมณี และ ด.ญ.กมลวรรณ ทองงาน
อาจารย์ที่ปรึกษา    อาจารย์ทัศนีย์ ระลึกมูล
สถานที่ศึกษา         โรงเรียนเฉลิมขวัญสตรี